วารสารนวัตกรรมสังคม : Journal of Social Innovation เป็นวารสารวิชาการของวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่แนวคิดและผลงานที่มีสาระประโยชน์ของนักคิดนักวิชาการออกสู่สังคมโดยมีการดำเนินงานและตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ อาทิ บทความวิจัย (Research Paper) บทความวิชาการ (Academic Paper) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)และบทความปริทัศน์ (Review Article) เพื่อการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเปิดเวทีเสวนาและกระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ สมดังปณิธานในการจัดการศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมที่มุ่งสู่นวัตกรรมทางปัญญา
วารสารนวัตกรรมสังคม : Journal of Social Innovation กำหนดออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม - มิถุนายน และ กรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี) บทความในวารสารทุกชิ้น รวมถึงงานค้นคว้าวิจัยที่มีเนื้อหาครอบคลุมความรู้ด้านภาวะผู้นำ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ธุรกิจและการเมือง จะได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Annual Peer-reviewed Journal) ก่อนการจัดพิมพ์เสมอ
วารสารนวัตกรรมสังคม ได้เสนอเข้ารับการประเมินคุณภาพวารสารจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในปี 2565 โดยTCI ได้ประกาศผลการประเมินคุณภาพ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ให้วารสารนวัตกรรมสังคมเป็นวารสารกลุ่มที่ 2 สาขาสังคมศาสตร์ ในฐานข้อมูล TCI โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
1. เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Paper) บทความวิชาการ (Academic Paper) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) บทความปริทัศน์ (Review Article) ที่มีคุณภาพของอาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนทั่วไปในด้านภาวะผู้นำ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ธุรกิจและการเมือง
2. เพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนและกระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ทางวิชาการแก่สังคมทั่วไป โดยสนับสนุนให้อาจารย์ประจำอาจารย์พิเศษ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนทั่วไป นำเสนอผลงานวิชาการในด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ธุรกิจและการเมือง
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ นวัตกรรมสังคม : Journal of Social Innovation วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะรับบทความจากอาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนทั่วไปในด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ธุรกิจและการเมืองและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารวิชาการอื่นๆ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ จะมีการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและได้รับความเห็นชอบแล้วจากกองบรรณาธิการ
วารสารมีการตรวจสอบคุณภาพของบทความ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 ท่าน โดยใช้วิธีการประเมินแบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย (Double Blinded Review)
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการฉบับนี้ ถือ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้บริหารและ/หรือคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเอง
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้มีการนำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารวิชาการ นวัตกรรมสังคม : Journal of Social Innovation วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของทางวารสาร
วารสารมีกำหนดการออกวารสารทุกราย 6 เดือน โดยออกปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน , ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม ของทุกปี
โดยมีค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความละ 4,000 บาท
1. บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น
2. เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร
3. บทความต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
4. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตัวเอง เช่น ภาพ ตาราง เป็นต้น
5. ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
6. ผู้เขียนบทความจะต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (Template) ของวารสาร
7. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการบทความจริง
8. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ และ/หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจะต้องระบุในบทความ และแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
9. ผู้เขียนไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิง หรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง และควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10. การกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในกิตติกรรมประกาศนั้น หากสามารถทำได้ผู้เขียนบทความควรขออนุญาตจากผู้ที่ผู้เขียนประสงค์จะขอบคุณเสียก่อน
11. ในบทความผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป
12. กรณีที่ผลงานเป็นการศึกษาวิจัยและทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง โดยการทดลองในคนอาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ขอให้แนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ทั้งนี้ การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ
3. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือ โดยนำผลของการวิจัยมาเป็นตัวชี้นำว่า สมควรตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่
4. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมิน
5. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง
6. เมื่อบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องระงับการประเมินและติดต่อผู้เขียน เพื่อพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์การตีพิมพ์
7. หากบรรณาธิการตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ
1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
2. หากผู้ประเมินบทความมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนผู้ประเมินบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
3. ผู้ประเมินบทความควรรับประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ และหากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ