บทคาม

วิธีปฏิบัติในการอ่านหนังสือของนิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Practices in Reading of Graduate Students, Faculty of Social Sciences, Kasetsart University

นันทวัฒน์ พารณอิสรีย์ สิริกร กาญจนสุนทร และดร.ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง 

Abstract

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติในการอ่านหนังสือ เพื่อเปรียบเทียบวิธีปฏิบัติในการอ่านหนังสือของนิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ และปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม ที่มีความสัมพันธ์กับวิธีปฏิบัติในการอ่านหนังสือ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 252 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, One-way ANOVA และหาความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe หรือ LSD ค่าไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีวิธีปฏิบัติในการอ่านหนังสือในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการตั้งจุดประสงค์การอ่าน ด้านการสำรวจเนื้อหา ด้านการอ่านเนื้อหาในหนังสือ ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ และด้านการจดบันทึกหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.23, 2.21, 2.04, 2.23, 2.30 และ 2.27 ตามลำดับ) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ (ความถี่ในการอ่านหนังสือเรียน ระยะที่ใช้ในการอ่าน ช่วงเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือเรียนในแต่ละเทอม และเหตุผลในการอ่านหนังสือเรียน) และปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม (การสนับสนุนจากอาจารย์ คณะ/ภาควิชา และมหาวิทยาลัย) มีความสัมพันธ์กับวิธีปฏิบัติในการอ่านหนังสือในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05, .01 และ .001



Keyword : การอ่านหนังสือ, การสนับสนุนทางสังคม, นิสิตปริญญาโท, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์

Download :  PDF Full Text