บทคาม

ทฤษฏีและการปฏิบัติการของ “นวัตกรรมสังคม”

 ดร.สุนทร คุณชัยมัง

Abstract

ด้วยคำและความหมายของคำว่า นวัตกรรมสังคม เป็นคำที่มีลักษณะพลวัต ไม่หยุดนิ่ง ตั้งอยู่บนฐานที่มาของการแก้ไขปัญหาสังคมที่มีอยู่ (ในเรื่องนั้นๆ) ไม่ใช่จะเกี่ยวข้องเฉพาะแต่เรื่อง ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการบริษัท (Corporate Social Responsibility) หรือวิสาหกิจ เพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อเป็นการทำความเข้าใจในเบื้องต้นต่อเรื่องนวัตกรรมสังคม บทความนี้จึงมุ่งอธิบายคุณลักษณะทางทฤษฎีของนวัตกรรมสังคมเป็นสำคัญ โดยเริ่มจากการ ทำความเข้าใจต่อคุณลักษณะของนวัตกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกับสังคม และ นำเอาการจัดกลุ่มทฤษฎีนวัตกรรมสังคมของนิอะ โชอิ และสัตยจิต มะจุมดาร์ (Nia Choi and Satyajit Majumdar) ซึ่งได้รวบรวมการอธิบายแนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยนวัตกรรมสังคมไว้ 7 กรอบด้วยกัน คือ 1) กรอบสังคมวิทยา (The sociological perspective) 2) กรอบการค้นหา ความคิดสร้างสรรค์ (The creativity research perspective) 3) กรอบการประกอบการ (The entrepreneurship perspective) 4) กรอบสวัสดิการ (The welfare economics perspective) 5) กรอบเน้นการปฏิบัติ (The practice-led perspective) 6) กรอบจิตวิทยาชุมชน (The community psychology perspective) 7) กรอบเขตแดนของการพัฒนา (The territorial development perspective) 



Keyword :

Download :  PDF Full Text