การบริหารจัดการกองทุนจิตอาสาประชารัฐของจังหวัด นนทบุรีในการดูแลผู้เปราะบางทางสังคม
ดร.บุญสม เกษะประดิษฐ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ของกองทุนจิตอาสาประชารัฐในการดูแลผู้เปราะบางทางสังคม ในจังหวัดนนทบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ตามแนวคิดของปีเตอร์ เซงเก้ (Peter Senge) ในแนวทางการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยวินัยหรือการฝึกฝน 5 ประการที่เรียกว่า The Fifth Discipline ซึ่งได้แก่ 1.การเปน็ บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) 2.การมีแบบแผน ความคิด (Mental Models) 3.การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) 4.การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning และ 5.การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) ในการจัดการความรู้ของกองทุน ฯ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้ในการสนับสนุนการช่วยเหลือผู้เปราะบางทางสังคมในจังหวัดนนทบุรี เป็นความรู้ที่มาจากสองแหล่ง คือความรู้ที่เกิดขึ้นในตัวจิตอาสาผู้ดำเนินการช่วยเหลือผู้เปราะบางทางสังคม ในขณะเดียวกันกระบวนการจัดการความรู้ได้ถูกนำมาใช้ และสร้างความรู้ให้กับผู้เปราะบางทางสังคมให้เกิดวิธีคิด แนวทางการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น อันเป็นการช่วยเหลือระยะยาว ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ คณะกรรมการบริหารกองทุนได้จัดเตรียมความรู้ความสามารถพัฒนาภาวะผู้นำที่ดี สามารถจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ และเข้าถึงง่าย เปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุน มีการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีการบริหารจัดการด้านการเงิน และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการดำเนินงาน มีการวางแผนและจัดทำเป็นขั้นตอน และสามารถสร้างกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือดูแลผู้เปราะบางทางสังคมให้มีความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
Keyword : การจัดการความรู้, กองทุนจิตอาสาประชารัฐ, ผู้เปราะบางทางสังคม
Download : PDF Full Text