บทคาม

การแข่งขันกันด้านเทคโนโลยีอวกาศ - นโยบายประเทศไทยควรไปทางไหน? (Age of Space Race - What Policies Thailand should adopt?)

มโน เลาหวณิช

Abstract

          การแข่งขันด้านเทคโนโลยีทางอวกาศนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น ระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่างฝ่ายต่างชิงดีชิงเด่นในการเป็นผู้นำ เมื่อสหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการยิงดาวเทียมดวงแรก สหรัฐอเมริกา ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี ได้ก่อตั้งองค์การ NASA ขึ้นและวางแผนการส่งนักบินอวกาศอเมริกันคนแรกไปลงดวงจันทร์ แล้วกลับมายังโลกอีกครั้งหนึ่งจนประสบความสำเร็จ การแข่งขันนั้นลดความรุนแรงลงเมื่อเกิดความร่วมมือทางอวกาศ ทั้งสหรัฐ รัสเซียและพันธมิตรร่วมกันสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) ซึ่งนักบินอวกาศนานาชาติ หมุนเวียนเปลี่ยนกันขึ้นไปอยู่ประจำการ ยกเว้นจีนซึ่งมีโครงการอวกาศของตนเองเป็นเอกเทศ ต่อมาประชาคมยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และ UAE เริ่มเข้ามีบทบาทในเวทีการแข่งขันทางอวกาศ ซึ่งทั้งสามประเทศได้พัฒนาเทคโนโลยีทางอวกาศของตนเอง ส่วนในสหรัฐอเมริกา การแข่งขันเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง นั่นคือเป็นการแข่งขันกันของบริษัทเอกชนของอภิมหาเศรษฐี 3 คน ได้แก่ นายอีลอน มัสก์  นายเจฟ เบซอส และท่านเซอร์ ริดชาร์ด แบรนสัน ทั้งสามคนแม้มีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกัน แต่มีลักษณ์ที่เหมือนกันอยู่ประการหนึ่งคือ การนำยานอวกาศที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำได้อีก ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ในขณะเดียวกันในประเทศไทย ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม ได้ประกาศโครงการที่จะส่งดาวเทียมของไทย ไปโคจรรอบดวงจันทร์ภายใน 7 ปีข้างหน้านี้ บทความนี้เป็นการทบทวนโครงการอวกาศต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันในเชิงการค้าของอภิมหาเศรษฐีทั้ง 3 ท่าน เปรียบเทียบกับโครงการอวกาศขององค์การ NASA  เพื่อเปรียบเทียบกับโครงการอวกาศของรัฐบาลไทย เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของรัฐบาลไทยต่อไปในภายหน้า



Keyword : การแข่งขันทางอวกาศ, นโยบาย, ประเทศไทย

Download :  PDF Full Text