การเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ในการคัดค้าน โครงการโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติบางคล้า (The New Social Movement Process againsting the Bang Khla natural Gas Power Plant Project)
ธนิกา เนาวรัชต์ และชุลีรัตน์ เจริญพร
Abstract
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จของยุทธวิธีการเคลื่อนไหวคัดค้านแผนการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติบางคล้าของชุมชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ตำบลเสม็ดเหนือและตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยศึกษาเอกสาร และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มรักษ์แปดริ้วที่เป็นกลุ่มเป้าหมายการวิจัย จำนวน 10 คน
จากการศึกษาพบว่า ขบวนการเคลื่อนไหวของชุมชน ในพื้นที่ตำบลเสม็ดเหนือและตำบลเสม็ดใต้ เกิดขึ้นเพื่อคัดค้านแผนการเกิดโครงการโรงไฟฟ้าที่จะมีการใช้ก๊าซธรรมชาติ และน้ำในการหล่อเย็น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในพื้นที่ ชาวชุมชนมีการใช้ 4 ยุทธวิธีที่สำคัญ โดยเริ่มต้นด้วย (1) ยุทธวิธีสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความเท่าทันถึงผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นให้กับคนในชุมชน (2) ยุทธวิธีสร้างกระบวนการมสี่วนร่วมในชุมชน ร่วมกันคิด ร่วมกันหาแนวทางในการคัดค้านโครงการฯ (3) ยทุธวิธีอารยะขัดขืน และการลงโทษทางสังคม ตามแนวทางสันติวิธีและ (4) ยุทธวิธีเรียนรู้ผลกระทบจากพื้นที่จริง ด้วยการนำตัวแทนชุุมชนที่มีศักยภาพไปเรียนรู้สถานที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ และในพื้นที่ที่ไม่มีการแก้ไขปัญหาจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำความรู้ข้อมูลที่ได้ขยายผลต่อชุมชน ความสำเร็จของการเคลื่อนไหวคัดค้านในกรณีศึกษานี้เกิดจากพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมชุมชนที่เข้มแข็ง การสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการใช้ยุทธวิธีต่าง ๆ ในการคัดค้านโครงการ ฯ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเชิงความรู้อันสามารถนำไปเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ ของภาครัฐ
Keyword :
ยุทธวิธีการเคลื่อนไหว, โรงไฟฟ้า, อำเภอบางคล้า
Download : PDF Full Text