บทคาม

ทฤษฎีมาร์กซ์แบบคลาสสิคและความจำเป็นในการให้เหตุผลทางจริยศาสตร์เกี่ยวกับความเท่าเทียม

 Benjamin D. King

Abstract

                  บทความนี้ย้อนกลับไปศึกษางานเขียนของ จี เอ โคเฮน (G. A. Cohen) ที่ปฏิเสธคำกล่าวอ้างในทฤษฎีมาร์กซ์แบบคลาสสิค ที่มองการปฏิวัติโดยชนชั้นแรงงานและความมั่งคั่งเหลือเฟือทางวัตถุว่าเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจากการตีความงานของมาร์กซ์โดยโคเฮน สองปัจจัยนี้จะนำไปสู่ความเท่าเทียมในการตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ (Need-satisfaction)ในสังคมแบบคอมมิวนิสต์ขั้นสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เนื่องจากความเท่าเทียมแบบมาร์กซิสท์นั้นไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ โคเฮนจึงเสนอว่านักสังคมนิยมควรจะมีความชัดเจนมากขึ้นว่าต้องการสนับสนุนความเท่าเทียมแบบใดภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด บทความนี้วิเคราะห์และสนับสนุนข้อเสนอของโคเฮน โดยบทความนี้ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะมีกลุ่มชนชั้นแรงงานข้ามชาติเกิดขึ้น ที่จะมีทั้งอำนาจและแรงจูงใจที่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงแบบสังคมนิยมในระดับสากล ซึ่งถึงแม้ว่ามีกลุ่ม  ชนชั้นแรงงานข้ามชาติเช่นนั้นจริง ผู้เขียนก็ยังสนับสนุนข้อเสนอของโคเฮนว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมตามแนวทางสังคมนิยมได้ยาก เพราะลักษณะข้ามชาติของทุนนั้นบั่นทอนอำนาจของชนชั้นแรงงานข้ามชาติ ซึ่งทำให้ยากที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบสังคมนิยม นอกจากนั้น บทความนี้สรุปการตีความงานของมาร์กซ์โดยโคเฮนเกี่ยวกับความมั่งคั่งเหลือเฟือทางวัตถุ และเสนอว่าความมั่งคั่งเหลือเฟือทางวัตถุและความเท่าเทียมแบบมาร์กซิสต์นั้น เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ยาก เนื่องมาจากข้อจำกัดทางนิเวศวิทยา และบทความนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่ามาร์กซ์จะมองว่าความมั่งคั่งทางวัตถุในระดับกลางๆนั้นเป็นไปได้ แต่ความเท่าเทียมแบบมาร์กซิสท์นั้นก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่เป็นไปได้ ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ และก็อาจจะไม่จำเป็นตามหลักของความยุติธรรม ฉะนั้นนักสังคมนิยมควรจะพิจารณาว่าควรจะสนับสนุนความเท่าเทียมหรือไม่ และสนับสนุนความเท่าเทียมแบบใด



Keyword : ทฤษฎีมาร์กซิสต์, สังคมนิยม, ความเท่าเทียม, G. A. Cohen

Download :  PDF Full Text