แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน การคมนาคมขนส่งในประชาคมอาเซียน
อาจารย์เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์
Abstract
บูรณาการความเป็นประชาคมอาเซียนนั้น.ตั้งอยู่บนมูลฐานของพลังขับเคลื่อนสำคัญ สามส่วนด้วยกัน คือความเชื่อมโยง ความสามารถในการแข่งขัน และความร่วมมือต่อกัน ทั้งสาม ปัจจัยนี้เอง เป็นคุณค่าหลักหลอมรวม เป็นดั่งคำขวัญของประชาคมอาเซียนที่ว่า หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม ทั้งหมดนี้เอง ความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดังบทความนี้ นำเสนอคือตัวการเชื่อมโยงในระดับพื้นฐานของรูปแบบกรอบงานต่างๆของอาเซียนนั่นเอง
ผู้เขียนนำเสนอในบทความนี้ ถึงความแตกต่างของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของรัฐสมาชิก อาเซียน ที่ตั้งอยู่ตามหมู่เกาะ และรัฐสมาชิกที่ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ สภาพที่ตั้งด้งกล่าว จะเห็นรูปแบบการพัฒนาความเติบโตทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน คือในรัฐสมาชิกที่มีที่ตั้งบนเกาะ จะมีรูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า สามเหลี่ยมความเติบโต ในขณะที่อนุภูมิภาคของ อาเซียนบนผืนแผ่นดินใหญ่ จะแยกย่อยออกไป บทความนี้เน้นให้เห็นเป็นการเฉพาะในความเชื่อมโยง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเชื่อมโยงแทบทุกภาคส่วนของกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม โดยที่มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ระเบียงเศรษฐกิจเหนือไต้เช่นเดียวกับระเบียง เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เป็นเส้นทางถนนสายใหญ่ ที่มีจุดกำเนิดเริ่มต้นมาจากเมืองคุนหมิง ในภาคตะวันตกเฉียงไต้ของจีน ผ่านเมืองต่างๆในเมียนมา ลาว และประเทศไทย ลงไปสุดถึง สิงคโปร์ ส่วนโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆนั้น ส่วนใหญ่จะเชื่อมกันระหว่างทวิภาคีประเทศ และ เชื่อมต่อกันไปทั่วในกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม และความเชื่อมโยงเช่นนี้เอง ที่ช่วยทำให้ลาว หลุดจากการเป็นประเทศ Land-lock มาเป็นประเทศ Land-link ได้ในที่สุด ความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นกับอาเซียนนี้ จึงทำให้เกิดพลวัตของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ต่อความพยายามของรัฐอาเซียนบนผืนแผ่นดินใหญ่ ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
และสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะแล้ว ประโยชน์อันเกิดจากความเชื่อมโยงโครงสร้าง พื้นฐานการคมนาคมบนสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทย มีศักยภาพอย่างดีกับการกลายเป็น ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในภูมิภาคอาเซียนบนผืนแผ่นดินใหญ่อย่างดี และสามารถเป็นฮับ ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย ยิ่งขึ้นต่อไป
Keyword :
Download : PDF Full Text