กลยุทธ์การจัดการฐานการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในรายวิชาวรรณกรรมไทยร่วมสมัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
เทวากร คำสัตย์, Lu XinHui และศศิวิมล คงสุวรรณ
Abstract
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ในการสร้างการเรียนรู้วิชาวรรณกรรมไทยร่วมสมัยเกี่ยวกับเนื้อหาวรรณกรรมไทยที่สะท้อนสภาพสังคม ทัศนคติ และความเชื่อของคนไทยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา ภท.325 วรรณกรรมไทยร่วมสมัย ซึ่งเป็นรายวิชาเอกบังคับ โดยอาศัยหลักกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ได้แก่ 1) กลยุทธ์การใช้สมองเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ (Brain-based Learning Strategy) และ 2) กลยุทธ์การใช้การจัดการเป็นฐานการเรียนรู้ (Management-Based Learning Strategy) เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบ (Active learning) และกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) ซึ่งบทความนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัย แบบเอกพันธ์ (Homogeneous Sampling) และการสัมภาษณ์เฉพาะกลุ่ม (Group Interviewing) การปฏิบัติการกับนักศึกษาชาวจีนจำนวน 20 คน และนําเสนอผลการวิเคราะห์โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาสามารถรับรู้และมีความเข้าใจแนวทางการวิจารณ์วรรณกรรมไทยร่วมสมัยได้เป็นรูปธรรม สามารถวิเคราะห์วิจารณ์สภาพสังคมไทย ทัศนคติ และความเชื่อได้อย่างถูกต้องโดยเฉพาะคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในงานวรรณกรรมไทยในแต่ละยุคสมัยด้วยกลยุทธ์ที่อาจารย์ผู้สอนได้นำมาปรับใช้ในการสร้างการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวจีนที่ศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
Keyword : กลยุทธ์ในการเรียนรู้, วรรณกรรมไทยร่วมสมัย, มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศกวางตุ้ง
Download : PDF Full Text