เศรษฐกิจภาคประชาชนในประเทศไทย
ฐิติมนต์ วิทูภาสกาญจน์ และธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช
Abstract
การศึกษาเศรษฐกิจภาคประชาชนของพลเมืองดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพลเมืองดิจิทัล และลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจภาคประชาชนในประเทศไทย การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) ด้วยช่องทางแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) ผ่าน Google Form จำนวน 478 ราย และถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติแบบ (Analysis of Covariance: ANCOVA) เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวแปรอิสระ 1 ตัวหรือมากกว่า และกลุ่มตัวแปรตามหนึ่งตัว ผลการวิจัยพบว่า อาชีพ และอายุมีผลต่อเศรษฐกิจภาคประชาชน และเครื่องมือสื่อสารออนไลน์ไม่มีผลต่อเศรษฐกิจภาคประชาชน โดยปัจจัยด้านอายุ และอาชีพ ส่งผลต่อรายได้ที่มากขึ้นตามช่วงอายุ และตามประเภทของกลุ่มอาชีพ ทำให้รายได้มีความมั่นคงที่จะสามารถจัดสรรทั้งทางด้านเวลา รวมถึงรายได้ เพื่อมีดำเนินกิจกรรมที่เป็นส่วนร่วมกับภาคประชาสังคมได้มากยิ่งขึ้น จากผลการทดลองที่ได้ทำให้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรส่งเสริมอาชีพเพื่อชุมชนโดยอาจรวมกลุ่มประชาชนตามความสนใจให้สามารถจัดตั้งธุรกิจเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนและสังคม รวมถึงควรส่งเสริม สนับสนุน สร้างความรู้ความเข้าใจ และข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ จากการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นถึงวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจภาคประชาชน ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไป การศึกษาผลกระทบของวิสาหกิจชุมชนที่มีต่อเศรษฐกิจภาคประชาชนยังจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้ลุ่มลึกมากขึ้น
Keyword : เศรษฐกิจภาคประชาชน, พลเมืองดิจิทัล, วิสาหกิจชุมชน
Download : PDF Full Text