การพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังด้วยหลักการทําสมาธิ
เอกพจน์ คงกระเรียน
Abstract
งานวิจัยเรื่องการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังด้วยหลักการทําสมาธิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังด้วยหลักการทําสมาธิ และนําเสนอแนวทางการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขัง ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้อ้างอิงประกอบการวิจัย ผู้วิจัยได้กําหนดขอบเขตข้อมูลเป็นการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังด้วยหลักการ ทําสมาธิและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขัง ผลการวิจัยพบว่าหลักการทําสมาธิด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิ (สมาธิยกจิตสู่สวรรค์) ของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินุธ โร มีความสอดคล้องและเหมาะสมในการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขัง สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ด้านปริยัติ คือ หลักการต่างๆ ของหลักสูตร (สัคคสาสมาธิ) สอดคล้องกับหลักคําสอนของ พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนสืบเนื่องกันมา 2) ด้านการปฏิบัติ คือ วิธีการปฏิบัติมีความถูกต้องและเหมาะสมปฏิบัติง่าย อีกทั้งหลวงพ่อ วิริยังค์ สิรินธโร ผู้ก่อตั้งหลักสูตรการทําสมาธิ (สัคคสาสมาธิ) นี้ ได้ศึกษามาจากหลวงปู่มั่น ภู ริทตฺโต ผู้เป็นพระปรมาจารย์ใหญ่แห่งฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน โดยตรง 3) ด้านปฏิเวธ คือ ผลการปฏิบัติทําให้ผู้ต้องขังสามารถพัฒนาจิตใจของตน เปลี่ยนแปลงนิสัย ฟังซ่านน้อยลงซึ่งเป็นผลมาจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการทําสมาธิที่ถูกวิธี 4) ด้านระยะเวลา มีความเหมาะสม กล่าวคือให้ผู้ต้องขังได้ทําสมาธิด้วยการเดินจงกรม 30 นาที และนั่งสมาธิ 30 นาที ซึ่งถือว่าไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป 5) ด้านสถานที่เรือนจํามีสถานที่ให้ผู้ต้องขังได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติสมาธิ การปฏิบัติสมาธิอย่างถูกต้องตามหลักการจะก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาจิตใจ คือ เป็นผู้มีเหตุผล เพราะสมาธิจะเข้าไปสร้างความสมดุลของจิต (Balance of mind) ให้มีความละอายชั่วกลัวบาป เป็นผู้มี ความเสียสละ เสียสละส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมซึ่งเกิดจากการทําสมาธิเพราะความสมดุลของจิต จะทําให้เป็นผู้มีความเสียสละต่อสังคม เป็นผู้มีความรับผิดชอบ เมื่อได้ทําสมาธิจิตจะสั่งการให้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายนอกไปในทางที่ดีมีสํานึกรับผิดชอบต่อสังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังจะต้องพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจควบคู่กันไปจะ ทําให้ผู้ต้องขังมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ต้องขังที่จะได้กลับตัวกลับใจเป็นคนดี เห็นคุณค่าของชีวิตที่จะช่วยสร้างความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคงให้กับประเทศชาติ แนวทางการพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลหลักการทําสมาธิ (สัคคสาสมาธิ) จะต้องมีความเหมาะสมมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่ง่ายและใช้เวลาไม่นาน และการทําสมาธิจะเกิดประโยชน์สูงสุด (ประสิทธิภาพและประสิทธิผล) จะต้องมีการดําเนินอย่าง ต่อเนื่องข้อเสนอแนะการทําสมาธิเป็นหลักการสากลที่ศาสนิกของทุกศาสนาสามารถปฏิบัติได้โดยไม่มี ข้อจํากัดให้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคลและการทําสมาธิจะต้องมีความต่อเนื่องเพื่อให้ สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีแก่สังคม หลักการทําสมาธิจะต้องมี ความยืดหยุ่นสามารถปรับให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมของแต่ละสังคม
Keyword : การพัฒนาจิตใจผู้ต้องขัง, หลักการทําสมาธิ
Download : PDF Full Text