“บทเพลง” กับ “ความมั่นคง”
พันเอก บุญรอด ศรีสมบัติ
Abstract
บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทเพลงไทยกับความมั่นคง ตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านยุคสงครามเย็น ถึงยุคภายใต้ การปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ “คสช.” ซึ่งการศึกษาพบว่า
ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 บทเพลงที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง จะมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุน “แนวคิดชาตินิยม” เป็นเพลงปลุกใจให้คนไทยรักชาติบ้านเมือง เน้นบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในล้นเกล้ารัชกาลที่ 6
ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 บทเพลงกับความมั่นคง จะมีเป้าหมายเพื่อ “ปลุกกระแส ชาตินิยม” ของไทย ให้รักชาติและปกป้องผืนแผ่นดินไทยจากผู้รุกราน ผลงานเพลงที่โดดเด่น เป็นของหลวงวิจิตรวาทการ
ยุคสงครามเย็น บทเพลงชี้ให้เห็นภัยคุกคามลัทธิคอมมิวนิสต์และการต่อสู้ของคนไทย มีบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่สำคัญในล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 เช่น เพลง “ความฝันอันสูงสุด” นอกจากนี้ยังมีบทเพลงที่ประชาชนทั่วไปแต่งขึ้น โดยเนื้อเพลงจะกล่าวถึง สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะบรรยายชีวิตของทหารที่ห่างจากคนรัก ไปรบในสมรภูมิต่างๆ และช่วงการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ที่รุนแรงที่สุด มีเพลง 2 เพลงที่โดดเด่น คือ “ถามคนไทย” และ “หนักแผ่นดิน”
และท้ายสุด ยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ “คสช.” มีบทเพลงความมั่นคง ที่แต่งขึ้น เพื่อเรียกร้องความรัก ความสามัคคี และความปรองดองของคนในชาติผ่านบทเพลง แต่งโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา “หน.คสช.” เช่น เพลง “คืนความสุขให้ประเทศไทย” เป็นต้น
Keyword :
Download : PDF Full Text