บทคาม

อัตลักษณ์ของธุรกิจเครื่องเขียนเพื่อการปรับตัว New Identity of Stationery Business for Adaptation

พรภรณี รจิตานนท์  

Abstract

งานนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาการปรับปรุงอัตลักษณ์ของร้านธุรกิจเครื่องเขียนศิวดล จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดและการบริการแนวใหม่ที่เหมาะสมกับร้านธุรกิจเครื่องเขียนโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นการเลือกเชิงทฤษฎี (Theoretical sampling) ซึ่งได้แก่การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักเพื่อการสัมภาษณ์จากประเด็นที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่มคือ 1) เจ้าของธุรกิจร้านเครื่องเขียน 2) ลูกค้าที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) เซลล์แมน ซึ่งมีประสบการณ์อยู่ในวงการทำธุรกิจเครื่องเขียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 คน

ผลการศึกษาคือ 1) การปรับปรุงอัตลักษณ์ของร้านธุรกิจเครื่องเขียนในการสร้างอัตลักษณ์ชื่อเสียงหรือ “แบรนด์” ของร้านให้มีความแตกต่าง การขยายตลาดลูกค้าใหม่ด้วยการขยายตลาดออนไลน์ และการบริหารจัดการด้านการเงินและการควบคุมการเงินอย่างชัดเจน เพื่อทราบถึงผลกำไรหรือขาดทุนต่อเดือนได้อย่างแม่นยำสำหรับกลยุทธ์การตลาดแนวใหม่ที่เหมาะสมกับร้านธุรกิจเครื่องเขียนคือ (1) การบริการที่ดี จริงใจ ซื่อสัตย์ กับลูกค้า (2) ราคาที่เหมาะสมและเป็นมิตรภาพ (3) การเอาใจใส่กับคุณภาพของสินค้า (4) การใช้กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่เพิ่มช่องทางการสั่งซื้อ ทางโทรศัพท์และ อินเตอร์เน็ต และ(5) การประชาสัมพันธ์ ทำให้ลูกค้ารู้จักกับร้านมากขึ้น แนวทางที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของลูกค้า คือการให้บริการที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นรายบุคคล โดยใช้กลวิธี “เสื้อสั่งตัด” สามารถตอบสนองลูกค้าบนฐานความพึงพอใจของลูกค้าต่างวัยที่มีความต้องการการบริการที่หลากหลาย การจัดมุมพักผ่อนในร้านเพื่อตอบรับการให้บริการแก่กลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงพัฒนาบุคลากรเก่าและใหม่ให้เข้าใจการทำงานร่วมกัน เปิดใจเรียนรู้กระบวนการทำงานใหม่ๆ นอกจากนั้นยังมีการจัดกิจกรรมประจำเดือนเพื่อสร้างเครือข่ายสังคมอุดมปัญญาที่ตอบสนองความต้องการของภาครัฐเพื่อสร้างรูปแบบของร้านธุรกิจเครื่องเขียนที่ต้องการการปรับตัว  



Keyword : อัตลักษณ์, ธุรกิจเครื่องเขียน, การปรับตัว

Download :  PDF Full Text